สแตนเลส หรือ เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel Alloy) แบ่งออกเป็น 5 ประเภท
1. Ferritic Stainless Steel (รู้จักกันในนาม Plain Chromium Steel) มีการเพิ่มธาตุโครเมี่ยม (Chromium) ประมาณ 12-18% และมีปริมาณคาร์บอนต่ำมาก (Very Low Carbon) ที่นิยมใช้ทั่วไป คือ
- เกรด 430 - ราคาถูกที่สุด
- เกรด 409 - ใช้ทำ ท่อไอเสียรถยนต์ เนื่องจาก ราคาถูก ทนต่อการกัดกร่อน และสามารถขึ้นรูปได้ง่าย (Excellent Formability)
ลักษณะเด่นของ Ferritic Stainless Steel ที่นิยมใช้ทั่วไป คือ
- เกรด 430 - ราคาถูกที่สุด
- แม่เหล็กดูดติดได้ (Magnetic)
- ไม่สามารถทำHeat Treatment เพิ่มได้
- ทำได้เพียงการอบอ่อน (Annealing)
- เชื่อมได้ไม่ดี (Poor Weldability)
- ทนต่อการกัดกร่อนปานกลาง (Moderate Corrosion Resistance)
2. Austenitic Stainless Steel (รู้จักกันในนาม "18/8" มาจากส่วนผสม Chromium 18% และ Nickel 8%) มีการเพิ่มธาตุนิกเกิ้ล (Nickel) ทำให้เปลี่ยนโครงสร้างทางจุลภาค (Micro-structure) เรียกว่า "Austenite" ซึ่งจากปริมาณเหล็กกล้าที่ใช้ทั่วไปประมาณ 70% คือ Austenite ที่นิยมใช้ทั่วไป คือ
- เกรด 304 นิยมใช้มากที่สุด มีชื่อเสียงในด้าน "Marine Grade"
- เกรด 316 ใช้กับงานกลึงเหล็กท่อน (Machining Bar Grade)
- เกรด 303 สำหรับงานท่วไป
*หมายเหตุ: 304 (1.4301) คือเกรดที่นิยมใช้มาที่สุด และมีการใช้ 50% จากปริมาณการใช้ทั่วโลก ทำให้เมื่อพูดถึง Austenitic Stainless Steel ที่มีส่วนผสมที่ต่างออกไป ก็ยังจะนึกถึง 304 เป็นอันดับแรก
ลักษณะเด่นของ Austenitic Stainless Steel
- เชื่อมได้ดีเยี่ยม
- สามารถดัดและขึ้นรูปได้
- ไม่สามารถทำ Heat Treatment เพิ่มได้
- การขึ้นรูปเย็น (Cold Work) จะทำให้เหล็กแข็งขึ้น
- มีสมรรถนะ "ดีเยี่ยม" ที่อุณหภูมิต่ำ (Low Temperature)
- มีสมรรถนะ "ดี" (Good) ที่อุณหภูมิสูง (High Temperature)
- ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม (Excellent Corrosion Resistance)
- แม่เหล็กดูดไม่ติด (Non-Magnetic) หลังการอบอ่อน (Annealing)
- สามารถทำความสะอาดได้ดี (Excellent Cleanability) ถูกตามสุขลักษณะ (Hygienic)
3. Martensitic Stainless Steel มีปริมาณคาร์บอนสูง (High Carbon) ประมาณ 0.1-1.2% คล้ายกับ Ferritic Stainless Steel หรือ Plain Chromium Steel ตรงที่มีส่วนผสมของโครเมี่ยม (Chromium) ประมาณ12-18% เป็นเหล็กสแตนเลสชนิดแรก ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ใช้ในงานทั่วไป เช่น อุปกรณ์ตัด เกรดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ
- เกรด 420 นิยมใช้ในงานวิศวกรรมต่างๆ
- เกรด 440C มีความแข็งที่สุด ทนทานต่อการเสียดสีได้ดี
ลักษณะเด่นของ Martensitic Stainless Steel
- แม่เหล็กดูดติดได้ (Magnetic)
- สามารถทำ Heat Treatment เพิ่มได้
- ไม่สามารถ (Inability) ขึ้นรูปเย็น (Cold Work)
- เชื่อมได้ไม่ดี (Poor Weldability)
- ทนต่อการกัดกร่อนปานกลาง (Moderate Corrosion Resistance)
4. Duplex Stainless Steel มีโครงสร้างทางจุลภาคคล้ายทั้ง Ferritic และ Austenitic Stainless Steel ที่มีปริมาณโครเมี่ยมสูง (High Chromium) ระหว่าง 18-28% นิกเกิ้ล (Nickel) มีปริมาณปานกลางที่ 4.5-8% ซึ่งปริมาณนิกเกิ้ล (Nickel) ที่ต่ำนี้ ไม่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างเป็น Austenitic อย่างเต็มรูปแบบ แต่พิเศษกว่าตรงที่มีการใส่โมบิลินั่ม (Molybdenum) ประมาณ 2.5-4% เกรดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ
- เกรด 2205 มีความทนทานต่อการกัดกร่อนดีเยี่ยม
- เหมาะสำหรับใช้ทำ ตัวคลายอุณหภูมิ (Heat Exchangers), ถังบรรจุสารเคมี (Chemical Tanks), โรงกลั่นต่างๆ (Refinery)
ลักษณะเด่นของ Duplex Stainless Steel
- เชื่อมได้ดี
- สามารถขึ้นรูปได้ดี
- ทนทานต่อกรด Chloride เป็นพิเศษ
- ทนทานได้ดีต่อความเครียสจากการถูกกัดกร่อน
- มีความแข็งกว่าทั้ง Ferritic และ Austenitic Stainless Steel
- ทนต่อการกัดกร่อนได้ดีเยี่ยม (Excellent Corrosion Resistance)
5. Precipitation (Hardening Grade) Stainless Steel มีค่าความแข็งแปรผัน (Precipitation Hardening) คล้ายกับ Martensitic, Semi-Austenitic หรือ Austenitic Stainless Steels ที่นำจุดเด่นของทั้ง Austenitic คือความทนทานต่อการกัดกร่อน และ Martensitic คือความสามารถในการทำ Heat Treatment เพิ่มได้มารวมไว้ด้วยกัน เกรดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ
- เกรด 17-4 PH (รู้จักกันในนาม 630) ผ่านการอบอ่อน (Annealing/Solution Treated) มาแล้ว สามารถขึ้นรูป ก่อนนำไปชุบแข็ง (Hardening) ได้เพียงครั้งเดียว ที่อุณหภูมิต่ำอย่างช้าๆ (Low Temperature Ageing)
ที่มา http://www.maxsteelthai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=123%3A-stainless-steel&catid=42&lang=th |